วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ด้านภาษา

ด้านภาษา

การประดิษฐ์ตัวอักษรไทย ซึ่งพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เป็นผู้ประดิษฐ์ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๑๘๒๖ คือ ลายสือไทย สันนิษฐานว่า ดัดแปลงมาจากตัวอักษรขอมหวัด และมอญโบราณ นับว่าเป็นมรดกอันยิ่งใหญ่ของวัฒนธรรมสุโขทัย อักษรไทย ที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์ขึ้น มีลักษณะการวางรูปตัวอักษร คือ สระ พยัญชนะ จะอยู่บรรทัดเดียวกัน สระจะอยู่หน้าพยัญชนะ มีวรรณยุกต์เพียง ๒ รูป คือ เสียงเอกและเสียงโท ในสมัยต่อมาได้มีการปรับปรุง โดยนำสระเขียนไว้ ข้างล่าง ข้างบน ข้างหน้า และข้างหลังของพยัญชนะ เพิ่มวรรณยุกต์จนออกเสียงได้ครบ และได้มีวิวัฒนาการมาเป็นลำดับจนเป็น อักษรที่ใช้กันทุกวันนี้ เมื่อพ่อขุนรามคำแหงมหาราชประดิษฐ์ตัวอักษรแล้ว โปรดฯให้จารึกเรื่องราวสมัยสุโขทัยลงในหลักศิลาจารึก โดยมีหลักศิลาจารึก หลักที่ ๑ เป็นหลักแรก ที่แสดงถึงเรื่องอักขรวิธีของภาษาไทยและเรื่องราวต่างๆ ด้านการปกครอง เศรษฐกิจ ประเพณี ศิลปวัฒนธรรมของสุโขทัย





นอกจากนี้ยังมีวรรณคดีที่สำคัญ  ได้แก่  ไตรภูมิพระร่วง (เตรภูมิกถา)


               (1)  ศิลาจารึก  ศิลาจารึกที่พบในสมัยสุโขทัย  มีประมาณไม่น้อยกว่า 30 หลัก  แต่ที่สำคัญมาก  คือ  ศิลาจารึกหลักที่ 1  ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง  มีคุณค่าทางภาษา  กฎหมาย  การปกครอง  วัฒนธรรม  และยังถือเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาเรื่องราวาทางประวัติศาสตร์ของไทยในสมัยนั้น  จึงนับว่าเป็นวรรณกรรมที่มีคุณค่าที่แสดงให้เห็นถึงสภาพสังคม  และวัฒนธรรมของสุโขทัยได้เป็นอย่างดี

               (2)  ไตรภูมิพระร่วง  พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย)  ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้น  เพื่อใช้แสดงธรรมโปรดพระราชมารดาและอบรมสั่งสอนประชาชนทั่วไป  ไตรภูมิพระร่วงเป็นวรรณคดีเล่มแรกของไทยที่เขียนเป็นเล่มอย่างสมบูรณ์  เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับมนุษย์  นรก  สวรรค์  สั่งสอนให้คนรู้จักเกรงกลัวต่อบาปและให้ทำแต่ความดี  นับว่ามมีอิทธิพลต่อจิตใจและความเชื่อของคนไทยสมัยนั้นเป็นอย่างมาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น