วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ด้านเศรษฐกิจ

ความเจริญด้านเศรษฐกิจของอาณาจักรสุโขทัย
                จากการที่อาณาจักรสุโขทัยมีที่ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำปิง ยม น่าน และป่าสัก ทำให้มีเส้นทางคมนาคมติดต่อกับดินแดนของบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาออกสู่ทะเลด้านอ่าวไทย นอกจากนั้นอาณาจักรสุโขทัยมีทรัพยากรธรรมชาติเป็นจำนวนมาก เช่น แร่เหล็ก สังกะสี ซึ่งปัจจัยดังกล่าวทำให้อาณาจักรสุโขทัยมีพัฒนาการทางด้านเศรษฐกิจเป็นไปอย่างรวดเร็ว
                อาชีพหลักที่สำคัญของอาณาจักสุโขทัย 
1. ด้านเกษตรกรรม
2. ด้านหัตถกรรม
3. ด้านการค้าขาย
1.  ด้านเกษตรกรรม
1.1 การทำนา ทำไร่ ทำสวน
ประชาชนของอาณาจักรสุโขทัยส่วนใหญ่ยึดอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก มีการ  ทำนา ทำไร่ ทำสวน พืชหลักที่ปลูก ได้แก่ ข้าว นอกจากนั้นปลูกไม้ยืนต้น เช่น มะม่วง มะขาม มะพร้าว หมาก พลู จากความอุดมสมบูรณ์ของการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ดังปรากฏข้อความในหลักศิลาจารึกหลักที่ 1 ว่า  “...เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว...”
 
 รูปการทำนาของเกษตรกร 

1.2 การใช้น้ำภายในตัวเมือง
1) การสร้างเขื่อนสรีดภงส์ หรือทำนบพระร่วง สร้างเป็นแนวคันดินกว้าง ประมาณ 10 – 14 เมตร บนหลังเขื่อนกว้าง 3 – 4 เมตรยาว 400 เมตร การสร้างเขื่อนสรีดภงส์มีวัตถุประสงค์  เพื่อเก็บกักน้ำในฤดูฝนไว้ใช้ประโยชน์ในฤดูแล้ง
     
รูปเขื่อนสรีดภงส์ 
                                2) การสร้างคูน้ำระหว่างกำแพงเมืองแต่ละชั้น มีคูน้ำกว้างประมาณ 15 เมตร           ขุดขนานไปตลอด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันข้าศึก และยังใช้เป็นคลอง เพื่อรับน้ำเข้ามาใช้ภายในอาณาจักรสุโขทัย
3) การสร้างตระพังหรือสระน้ำ บริเวณที่ต่อจากคูเมืองมีท่อสำหรับแจกจ่ายน้ำเข้าสู่ตระพัง ลักษณะของท่อเป็นท่อน้ำกลมมีเส้นผ่าศูนย์กลางเกือบครึ่งเมตรใช้ในการดักตะกอนดินกรวดทราย ดังนั้น ทำให้น้ำที่ไหลเข้าสู่ตระพังจึงเป็นน้ำที่ใสสะอาด ภายในตัวเมืองสุโขทัยมีตระพังอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น ตระพังเงิน ตระพังทอง ตระพังตะกวน และตระพังโพยสี
4) การสร้างบ่อน้ำ บ่อน้ำมีลักษณะเป็นบ่อที่กรุด้วยอิฐ รูปกลมมีเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 60 ซ.ม. ถึง 2.5 เมตร รับน้ำที่ซึมมาจากตระพังต่างๆ ภายในตัวเมืองสุโขทัย จะพบบ่อน้ำเป็นจำนวนมากบริเวณด้านตะวันออกของอาณาจักสุโขทัย
ภาพถ่ายทางอากาศ ภายในเมืองสุโขทัย หากมองมุมสูง จะเห็นว่ามีตระพังหรือสระน้ำต่างขนาดจำนวนมากมาย นับว่า ได้มีการจัดการระบบชลประทานนี้ดี เพื่อกักเก็บน้ำสำหรับชาวเมืองเพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภค เนื่องจากพื้นที่ของเมืองเก่านี้เป็นบริการที่แห้งแล้ง 
2. ด้านหัตถกรรม
อาชีพหัตถกรรมของอาณาจักรสุโขทัย ผลผลิตด้านหัตถกรรมที่ประชาชนผลิตขึ้น         ส่วนใหญ่เป็นสินค้าภายในอาณาจักรสุโขทัย เป็นผลผลิตพื้นฐานที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ จอบ เสียม ขวาน มีด การทอผ้า การจักสาน นอกจากนั้นยังมีผลผลิตที่ขึ้นชื่อของอาณาจักรสุโขทัยใช้เป็นสินค้าออก ได้แก่ ผลผลิตเครื่องเคลือบดินเผา หรือเครื่องสังคโลก*
เครื่องสังคโลกมีกรรมวิธีการผลิตโดยการนำแร่ธาตุ ได้แก่ ดินขาว หินฟ้าม้า และวัสดุอย่างอื่นมาผสมรวมกัน แล้วเคลือบด้วยน้ำยาสีขาวนวล หรือสีเขียวไข่กา สันนิษฐานว่า อาณาจักรสุโขทัยนำเทคนิคการปั้นมาจากประเทศจีน สังคโลกที่ผลิตขึ้นภายในอาณาจักรสุโขทัย ประกอบด้วย ถ้วย ชาม กระปุก โถ มีรูปทรงและลวดลายแบบจีนทั้งสิ้น
 
รูปเครื่องสังคโลก 
แหล่งผลิตเครื่องสังคโลกในอาณาจักรสุโขทัยที่สำคัญมี 2 แหล่ง คือ 
1.  แหล่งเตาบริเวณด้านทิศเหนือของเมืองสุโขทัยเก่า บริเวณริมลำน้ำโจน เครื่องสังคโลกที่ผลิตจากเตาเมืองสุโขทัยเก่า มีเนื้อหยาบสีเทา  นิยมเขียนเป็นลายดอกไม้  ลายกลีบบัว  ลายปลาในวงกลม ลายจักรภายในวงกลม รูปแบบของภาชนะมี ชาม จาน และ แจกัน
2. แหล่งเตาบริเวณเมืองศรีสัชนาลัย เป็นแหล่งผลิตเครื่องสังคโลก แหล่งใหญ่ที่สำคัญ           พบเตาเป็นจำนวนมาก บริเวณริมฝั่งแม่น้ำยม คือ เตาเผาบ้านป่ายาง เตาเผาบ้านเกาะน้อย และเตาเผาวัดดอนลาน   กลุ่มเตาบริเวณเมืองศรีสัชนาลัยมีผลิตภัณฑ์จำนวนมากมายหลายรูปแบบ เช่น
2.1 ประเภทภาชนะ ได้แก่ จาน ชาม ไห โอ่ง กระปุก
2.2 ประเภทประติมากรรม ได้แก่ ตุ๊กตารูปสัตว์ ตุ๊กตารูปชายหญิง
2.3 ประเภทเครื่องประดับ อาคารสถาปัตยกรรม ได้แก่ กระเบื้องมุงหลังคา ช่อฟ้าใบระกา หางหงส์
เครื่องสังคโลกกลุ่มเตาบริเวณเมืองศรีสัชนาลัย จะมีคุณภาพดี ฝีมือประณีตการตกแต่ง ภาชนะมีการเขียนลายบนเคลือบ เขียนลายใต้เคลือบ ตกแต่งลายใต้เคลือบ โดยการขูดให้เป็นลาย ลวดลายที่นิยมใช้ตกแต่งมี ลายดอกไม้ โดยเฉพาะลายดอกไม้ก้านขด ลายดอกบัว ลายปลา
                                                  
เตาทุเรียง เตาที่ใช้ทำเครื่องสังคโลก 
เครื่องสังคโลกเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของสุโขทัยตอนปลาย ตลาดเครื่องสังคโลกของสุโขทัยที่สำคัญ ได้แก่ ประเทศอินโดนีเซีย  ฟิลิปปินส์  ญี่ปุ่น และอินเดีย ตะวันออกกลาง และแอฟริกาตะวันออก โดยมีเส้นทางการค้าเครื่องสังคโลกอยู่ 2 เส้นทาง คือ
1. เส้นทางตะวันตกผ่านเมืองท่าเมาะตะมะ สินค้าที่ส่งไปขายประเภทไหเคลือบสีน้ำตาลขนาดใหญ่ กลุ่มลูกค้าสำคัญ คือ อินเดีย และ ตะวันออกกลาง
2. เส้นทางใต้ ผ่านกรุงศรีอยุธยา แล้วออกทะเลด้านอ่าวไทย สินค้าที่ส่งไปขายประเภท จาน ชาม กระปุก ชนิดเคลือบสีเขียวไข่กา และมีการเขียนลาย กลุ่มลูกค้าที่สำคัญ คือ สุมาตรา ชวา บอร์เนียว และลูซอน
                การค้ากับต่างประเทศ 
อาณาจักรสุโขทัยนอกจากมีการค้าภายในอาณาจักรแล้วยังมีการค้ากับต่างประเทศ เช่น มลายู อินโดนีเซีย ลูซอน เนื่องจากในสมัยพ่อขุนรามคำแหง ได้หัวเมืองมอญมาเป็นเมืองขึ้น ทำให้ใช้เมืองท่าที่หัวเมืองมอญค้าขายกับต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น
สินค้าที่อาณาจักรสุโขทัยส่งออกไปขายกับต่างประเทศส่วนใหญ่เป็นผลิตผลจากป่า         ซึ่งหายาก ได้แก่ ไม้กฤษณา ไม้ฝาง น้ำผึ้ง ยางรัก หนังสัตว์ ขนสัตว์และสังคโลก
สินค้าที่สุโขทัยสั่งซื้อมาจากต่างประเทศ ได้แก่ ผ้าแพร ผ้าไหม ผ้าต่วน อาวุธ และ
เครื่องเหล็ก
                เส้นทางการค้า 
เส้นทางการค้าที่อาณาจักรสุโขทัยใช้ติดต่อกับเมืองต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกอาณาจักร มีดังนี้
                1. เส้นทางการค้าทางบก อาณาจักรสุโขทัยมีการติดต่อค้าขายกับระหว่างเมืองสุโขทัยสามารถเดินทางได้สะดวกได้แก่ ถนนพระร่วง จากเมืองกำแพงเพชร สุโขทัยถึงศรีสัชนาลัย และยังมีเส้นทางที่ติดต่อกับแถบแม่น้ำน่านได้ ส่วนเมืองใกล้เคียง เช่น เมืองเชียงใหม่ เชียงแสน
หลวงพระบาง และเมาะตะมะ ยังมีถนนเชื่อมติดต่อจากอาณาจักรสุโขทัยไปยังเมืองต่าง ๆ
ได้สะดวก
                2. เส้นทางการค้าทางน้ำ อาณาจักรสุโขทัยมีเส้นทางการค้าที่สำคัญ ได้แก่ แม่น้ำปิง
แม่น้ำยม แม่น้ำน่าน และแม่น้ำป่าสัก โดยสินค้าที่มาจากเมืองต่าง ๆ ที่อยู่ตอนบนของแม่น้ำเหล่านี้จะรวมกันที่เมืองนครสวรรค์  แล้วส่งสินค้าผ่านแม่น้ำเจ้าพระยาไปตามเมืองต่าง ๆ ส่วนการขนส่งสินค้าจากสุโขทัยไปขายยังต่างประเทศ อาณาจักรสุโขทัยใช้เส้นทางการค้าที่สำคัญ 2 เส้นทาง คือ
2.1 เส้นทางจากสุโขทัยไปเมืองเมาะตะมะ โดยเริ่มจากเมืองสุโขทัย ผ่านเมืองกำแพงเพชร เมืองเชียงทองตัดออกช่องเขาที่อำเภอแม่สอด ผ่านเมืองเมียวดีไปถึงเมือง                        เมาะตะมะ ซึ่งเป็นเมืองท่าที่ใช้แลกเปลี่ยนสินค้ากับพ่อค้าอินเดีย เปอร์เซีย และอาหรับ
2.2 เส้นทางจากสุโขทัยไปยังอ่าวไทย โดยเริ่มต้นจากเมืองสุโขทัย ผ่านมาตามลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและสาขาผ่านอยุธยา ออกสู่อ่าวไทย เส้นทางนี้อาณาจักรสุโขทัยสามารถติดต่อค้าขายกับพ่อค้าจีน  ญี่ปุ่น  มลายู และอินโดนีเซีย
ระบบเงินตรา 
อาณาจักรสุโขทัย มีการค้าขายทั้งภายในอาณาจักรและมีการค้าขายกับต่างประเทศ            มีการแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้ากันโดยใช้เงินตราเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน มีเงินพดด้วง     ส่วนใหญ่ทำด้วยโลหะผสม ขนาดหนัก 4 บาทและ 1 บาท ประทับด้วยตราราชสีห์ ตราราชวัตร และตราช้าง สำหรับมาตราแลกเปลี่ยนจะใช้เบี้ย ซึ่งเดิมคงใช้เบี้ยจากแม่น้ำโขง ต่อมาพ่อค้าต่างชาติได้นำเบี้ย   ซึ่งเป็นหอยจากทะเลเข้ามาใช้ จึงทำให้เป็นของที่หายากสำหรับเมืองที่อยู่ไกลจากทะเล 
                                
                ภาษีอากร 
พระมหากษัตริย์ในสมัยสุโขทัย ทรงส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนทำการค้ากันอย่างกว้างขวาง เพื่อเพิ่มพูนรายได้ให้มากขึ้น โดยไม่เรียกเก็บภาษีจังกอบ (ภาษีผ่านด่าน) และมีการค้าขายกันโดยเสรี ส่วนภาษีอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากจังกอบคงเก็บตามปกติ เช่น ค่าธรรมเนียม เพื่อนำรายได้ใช้ในการพัฒนาอาณาจักร
3. ด้านการค้าขาย
การค้าขายของอาณาจักรสุโขทัยมีลักษณะ ดังนี้
1. การค้าภายในอาณาจักร 
พระมหากษัตริย์ของอาณาจักรสุโขทัยทรงสนับสนุนส่งเสริมการค้าขาย โดยให้ประชาชนทำการค้าได้อย่างเสรี ไม่เก็บภาษีการค้าหรือภาษีผ่านด่าน 
ที่เรียกว่า จกอบ* นอกจากนั้นไม่มีสินค้าต้องห้าม ประชาชนมีอิสระในการค้าขาย มีตลาดปสาน** ซึ่งตั้งอยู่ทางเหนือของอาณาจักรสุโขทัย สำหรับให้ประชาชนซื้อขายสินค้ากัน สินค้าที่พ่อค้านำมาซื้อขายแลกเปลี่ยนกันประกอบด้วย
  • สินค้าพื้นเมือง ประกอบด้วย ไม้ฝาง ไม้กฤษณา ไม้หอม พริกไทย กานพลู
  • สินค้าหัตถกรรม ประกอบด้วย เครื่องสังคโลก เครื่องเคลือบ ถ้วยชาม
  • สัตว์ ประกอบด้วย ช้างและม้า

3 ความคิดเห็น: