วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ความเป็นมาของอาณาจักรสุโขทัย

ความเป็นมาของอาณาจักรสุโขทัย
 อาณาจักรสุโขทัย 
                 เกิดจากความรักชาติ ความเสียสละ และความสามารถของบรรพบุรุษไทย ในตอนปลายพุทธศตวรรษที่ 18 ได้มีพัฒนาการที่เป็นปึกแผ่นมั่นคง มีความเจริญก้าวหน้า   ด้านการเมืองการปกครอง ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านศิลปวัฒนธรรม จากผลงานและความสามารถของบรรพบุรุษไทยเป็นผู้สร้างมรดกทางวัฒนธรรม และเป็นรากฐานของการพัฒนาชาติบ้านเมืองสืบทอดมาเป็นลำดับ
การสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย 
                  อาณาจักรสุโขทัย นับเป็นอาณาจักรของคนไทยที่ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นราชธานีใน
ปี พ.ศ. 1762 ก่อนหน้าที่จะมีการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัยขึ้นมา ได้มีเมืองสุโขทัยที่มีความเก่าแก่ เจริญรุ่งเรืองมาก่อน ผลจากการตีความในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 2 ระบุว่าเดิมเมืองสุโขทัยมี      ผู้นำคนไทยชื่อพ่อขุนศรีนาวนำถุม เป็นเจ้าเมืองปกครองอยู่ ภายหลังเมื่อพ่อขุนศรีนาวนำถุมสิ้นพระชนม์แล้ว ขอมสมาดโขลญลำพง* เป็นนายทหารขอมที่เป็นใหญ่ ได้นำกำลังทหารเข้ายึดเมืองสุโขทัยไว้ได้ทางฝ่ายไทยได้มีการเตรียมการเพื่อยึดเมืองสุโขทัยกลับคืนจาก                     ขอมสมาดโขลญลำพง โดยมีผู้นำไทย 2 คน ได้แก่ พ่อขุนบางกลางหาว เจ้าเมืองบางยาง และ          พ่อขุนผาเมือง  เจ้าเมืองราด พ่อขุนทั้งสอง เป็นสหายสนิทกัน และมีความสัมพันธ์กันทางเครือญาติ ร่วมกันนำกำลังเข้าชิงเมืองสุโขทัยกลับคืนมา เมื่อยึดเมืองสุโขทัยจากขอมได้เรียบร้อยแล้ว             พ่อขุนผาเมืองได้ยกทัพออกจากเมืองสุโขทัย เพื่อให้กองทัพของพ่อขุนบางกลางหาวเข้าสู่เมืองสุโขทัย พร้อมกันนั้น พ่อขุนผาเมืองทรงสถาปนาพ่อขุนบางกลางหาวขึ้นเป็นกษัตริย์ครองเมืองสุโขทัย แล้วถวายพระนามของพระองค์ที่ได้รับจากกษัตริย์ขอม คือ ศรีอินทรบดินทราทิตย์          ให้เป็นเกียรติแก่พ่อขุนบางกลางหาว พร้อมทั้งมอบพระขรรค์ไชยศรี แต่พ่อขุนบางกลางหาว      ทรงใช้พระนามใหม่ว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์  ซึ่งเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์พระร่วง
ของอาณาจักรสุโขทัย  นับตั้งแต่พ.ศ. 1762 เป็นต้นมา อาณาจักรสุโขทัยได้กลายเป็นศูนย์กลางที่มี      อาณาเขตกว้างขวางมีหัวเมืองต่าง ๆ ที่คนไทยรวมตัวกันอยู่เป็นส่วนหนึ่งในอาณาจักรที่ตั้งขึ้นใหม่
ปัจจัยที่เอื้อต่อการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย 
             1. ขอมเสื่อมอำนาจลง หลังจากพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (ครองราชย์เมื่อ พ.ศ. 1724-1761) สิ้นพระชนม์ พระเจ้าอินทรวรมันที่ 2 ปกครองต่อมาอ่อนแอ ขาดความเข้มแข็ง จึงเกิดช่องว่างของอำนาจทางการเมืองขึ้นในดินแดนแถบนี้ เปิดโอกาสให้บรรดาหัวเมืองต่างๆเติบโต และตั้งตนเป็นอิสระ
             2. ความสามารถของผู้นำและความสามัคคีของคนไทย ได้แก่ พ่อขุนผาเมืองเจ้าเมืองราดและพ่อขุนบางกลางหาว เจ้าเมืองบางยาง ได้ร่วมกันผนึกกำลังต่อสู้นายทหารขอม จนได้รับชัยชนะ สามารถประกาศตนเป็นอิสระจากอิทธิพลของขอม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น